แชร์

คุณฟังลูกน้อง... เพื่อ "เข้าใจ" หรือแค่ "รอพูด" ?

อัพเดทล่าสุด: 14 ก.ค. 2025
65 ผู้เข้าชม

คุณฟังลูกน้อง...เพื่อ
"เข้าใจ" หรือแค่ "รอพูด" ?


หลายคนคิดว่าตัวเองเป็น "ผู้นำที่เปิดใจฟัง"
แต่ในความจริงคุณกำลังฟังลูกน้องเพื่อเข้าใจเขาจริง ๆ
หรือแค่ฟังเพื่อ รอจังหวะ ที่จะ พูดสวน


จากประสบการณ์ ที่ได้  Consult ให้กับผู้บริหารหลายองค์กร
พบว่า ผู้บริหารหลายคน เวลาคุยกับลูกน้อง
ลูกน้องพูดไม่เท่าไหร่ หัวหน้าก็มักสรุป ตัดบท และสั่งให้ไปทำตามที่บอกทันที
ซึ่งจะมีลักษณะพฤติกรรม จะตอบ มากกว่า จะฟัง
นั่นก็อาจหมายถึง พวกเขากำลัง ปิดโอกาสบางอย่างโดยไม่รู้ตัว


"ฟัง " ไม่เท่ากับ "เข้าใจ"


หลายครั้งที่เราพยักหน้า เงียบฟัง
แต่ในใจเรา อาจกำลังคิดว่า อธิบายอะไร... ไม่เข้าเรื่องซักที .... ไม่เห็นเข้าใจเลย....
และก็ตามมาด้วยความคิดที่ว่า เดี๋ยวฉันจะสรุปให้ฟังว่า อะไรคือวิธีที่ควรทำ
สิ่งเหล่านี้ ผมเรียกว่า กับดักของผู้นำ
ที่มักคิดว่าตัวเองมีประสบการณ์มากกว่า จึงไม่จำเป็นต้องฟังลูกน้องจนจบ
ทำไมต้องเสียเวลามาฟัง บอกให้รู้ไปเลย มันจะง่ายกว่าไหม
จะได้ไปทำตามที่บอก ไม่เสียเวลา


คุณคิดว่า คุณกำลังปิด หรือเปิด "พื้นที่ปลอดภัย" ให้กับลูกน้อง


พวกเขา จะพูดความจริงได้ ต้องรู้สึกว่า ปลอดภัยพอ ที่จะพูด
และความรู้สึกปลอดภัยนั้น มักเริ่มจาก การฟัง ของคุณ
ถ้าคุณ... รีบตอบ หรือพูดขัด...เขาจะหยุดพูด
ถ้าคุณ... รีบตัดสิน...เขาจะเริ่ม เงียบ
ถ้าคุณ... ไม่เคยมองตา สบตา ขณะสื่อสาร เขาก็จะจบการสนทนา
และถ้าคุณ ไม่เคยถามเขาเลย ...เขาจะเริ่มรู้สึกว่า เขาไม่มีคุณค่า


แต่ถ้าเมื่อไหร่ คุณฟังอย่างตั้งใจ มองตา ถามกลับ
และพยายามเข้าใจพวกเขา
ถึงแม้ คุณเองอาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับทุกคำพูดของเขา
อย่างน้อยที่สุด...เขาจะรู้สึกว่า คุณยังเข้าใจเขาอย่างแท้จริง
และความรู้สึกนั้น..... จะทำให้เขา "อยากร่วมมือกับคุณ" มากกว่า "แค่ทำตามคำสั่ง"


เมื่อคุณฟังได้ดี
คุณจะได้เห็น ปัญหาภายใน ก่อนมันจะกลายเป็น วิกฤต
คุณจะได้ ไอเดียใหม่ จากมุมมองที่คุณ ไม่เคยมีมาก่อน
และคุณจะได้ "ใจ" จากคนในทีม
ลองถามตัวเองดูว่า ทุกวันนี้...
เวลาที่คุณสนทนากับลูกน้อง
คุณใช้เวลา "ฟัง" กี่เปอร์เซ็นต์?
ใช้เวลา "พูดหรืออธิบาย" กี่เปอร์เซ็นต์?
และคุณสังเกตเห็นบ้างไหมว่า เขารู้สึกอย่างไร"

กับการสนทนาในครั้งนั้น


#พี่เลี้ยงหัวหน้างาน
#Leadership
#Listening


บทความที่เกี่ยวข้อง
ติดกับดัก ทำเองทุกอย่าง เพราะกลัวงานพลาด ?
มื่อไม่นานนี้ ผมได้มีไปสอนให้กับผู้บริหารองค์กรชั้นนำองค์กรหนึ่งในหัวข้อ การสอนงาน การมอบหมายงาน และการติดตามงานเมื่อสอนเสร็จ ได้กลับมาทบทวนกับตัวเอง ในเนื้อหาที่สอนเพราะมีผู้เรียนบางท่าน ได้มีความคิดและแนวทางการทำงานคล้ายกับผมในช่วงวัยเริ่มต้นทำงาน
14 ก.ค. 2025
โค้ชตัวเอง
โค้ชตัวเอง ได้ไหม? เราต้องรอให้ใครมาโค้ชเราเสมอไปหรือเปล่า?
6 เม.ย. 2025
เอนเนียแกรมกับศาสตร์การพัฒนาและเติบโตด้านจิตวิญญาณ
Enneagram ไม่ใช่แค่เครื่องมือในการวิเคราะห์บุคลิกภาพในยุคสมัยใหม่เท่านั้น แต่ยังเป็นระบบที่มีการพัฒนามาหลายพันปี รากฐานของมันฝังลึกในวัฒนธรรมและปรัชญาต่าง ๆ
28 ส.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy